Thursday, July 9, 2020

คอร์ดเพิ่มเติมของคีย์ C เมเจอร์

คอร์ดชุด 7th ในคีย์ C เมเจอร์

คอร์ดชุดต่อมาของคีย์ C เมเจอร์ ที่จะกล่าวถึงในวันนี้ เกิดจากการที่เพิ่มโน้ตอีก 1 ตัวคือตัวที่ 4 เข้าไปในคอร์ด โดยที่โน้ต 3 ตัวแรกที่อธิบายไปในคราวที่แล้ว คือโน้ตตัวที่ 1, 3, 5 ส่วนในวันนี้ เราจะเพิ่มโน้ตเสียงที่ 7 เข้าไป

โครงสร้างคอร์ดที่ได้ในรอบนี้ ก็จะกลายเป็นรูปแบบ 1, 3, 5, 7 ซึ่งมีดังต่อไปนี้ครับ โดยที่ผมจะใช้ตัวอักษรสีน้ำเงินแทนเสียงราก (เสียงหลัก) ของคอร์ดนั้น ๆ เช่น คอร์ด Cmaj7 เสียงรากก็คือ C นะครับ

ส่วนตัวอักษรที่เป็นสีแดงนั้น ก็แทนโน้ตตัวที่ 7 หรือเสียงที่เน้นว่าเป็น 7th นั่นเอง เวลาเล่น ต้องพยายามอย่าให้เสียงทั้งสองนี้บอด หรือได้ยินไม่ชัดครับ
โดยที่คอร์ดในชุดนี้ คอร์ดแรกก็จะเริ่มต้นด้วยคอร์ด C นะครับ เมื่อเพิ่มโน้ตตัวที่ 7 เข้าไป ซึ่งตามสเกล C เมเจอร์แล้ว โน้ตตัวที่ 7 ก็คือตัว B ก็ได้โน้ต C, E, G, B ซึ่งมีชื่อว่า Cmaj7 (อ่านว่า "ซีเมเจอร์เซเว่นท์" ไม่มีใครอ่านว่า "เจ็ด" นะครับ) ส่วนวิธีการจับบนคอกีตาร์ ก็ดูตามไดอะแกรมด้านบนที่ผมทำเอาไว้นะครับ โดยที่จากคอร์ด C ธรรมดา ๆ เราก็ยกนิ้วชี้ (นิ้วที่ 1) ขึ้นไป ก็จะได้โน้ตตัว B มาแล้วครับ
คอร์ดที่สองในชุดนี้ ก็จะเป็นคอร์ด Dm7 (อ่านว่า "ดีไมเนอร์เซเว่นท์") ซึ่งเกิดจากการเพิ่มโน้ตตัวที่ 7 เข้าไป ซึ่งตามสเกล C เมเจอร์แล้ว โน้ตตัวที่ 7 ของ D ก็คือตัว C ก็ได้โน้ต D, A, F, C นั่นเอง สำหรับวิธีการจับนั้น ก็จะเป็นอย่างไดอะแกรมตามภาพด้านบน ซึ่งนิ้ว 1 (นิ้วชี้) นั้นจะกดทีเดียว 2 เส้นเลย หรือเส้นที่ 1 และเส้นที่ 2 จากนั้นนิ้วกลางก็จะกดในช่องที่ 2 ตามภาพ เวลาเล่น ก็ให้เล่นเพียงแค่ 4 เส้นเท่านั้น สายที่ 5 และสายที่ 6 ไม่ต้องเล่น เพราะว่าตัวโน้ตไม่ได้อยู่ในคอร์ด Dm7

สำหรับคอร์ด Dm7 หนังสือเพลงบางเล่ม หรือบางเว็บ จะเรียกคอร์ด Dm7 ว่าคอร์ด F on D หรือเขียนว่า F/D เนื่องจากว่าการจับนั้น เหมือนกับการจับคอร์ด F เพียงแต่เสียงเบสเวลาเล่น จะต้องเล่นเบสเป็นตัว D นั่นเอง และโน้ตต่าง ๆ ภายในคอร์ดนั้น เหมือนกันทั้งหมด
คอร์ดที่สามในชุดนี้ ก็จะเป็นคอร์ด Em7 (อ่านว่า "อีไมเนอร์เซเว่นท์") ซึ่งเกิดจากการเพิ่มโน้ตตัวที่ 7 เข้าไป โน้ตตัวที่ 7 ของ E ก็คือตัว D ก็ได้โน้ต E, G, B, D นั่นเอง สำหรับวิธีการจับนั้น มีหลายวิธีมาก ถ้าเกิดหาจากกูเกิล บางแห่งก็จะกดตามไดอะแกรมด้านบนโดยการใช้นิ้วเดียว หรือนิ้วที่ 2 กดบนสายที่ 5 ซึ่งก็จะเสียงครบเช่นกัน แต่ที่ผมชอบเล่น จะชอบใช้นิ้วที่ 4 (นิ้วก้อย) กดเข้าไปบนสายที่ 2 ด้วย ซึ่งก็คือตัว D ซึ่งจะช่วยเน้นเสียงของคอร์ดไมเนอร์เซเว่นท์ให้เด่นชัดขึ้นครับ

อีกชื่อของคอร์ด Em7 ก็เช่นเดียวกัน หนังสือเพลงบางเล่มจะเรียกคอร์ด Em7 ว่าคอร์ด G on E หรือเขียนว่า G/E เนื่องจากว่าการจับนั้น เหมือนกับการจับคอร์ด G (คอร์ด G มีโน้ต G, B, D) ในอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งไม่เหมือนกับแบบที่ผมแนะนำไปในบทที่ 1 ซึ่งจริง ๆ จะใช้การจับแบบนั้นก็ได้ ซึ่งดูแล้วโน้ตต่าง ๆ ในคอร์ด Em7 ก็มีครบนะครับ ก็เพียงแค่จับคอร์ด G แต่ไม่ต้องกดสายบนสุดนั่นเอง

ส่วนเวลาเล่น เราจะเล่นเบสของคอร์ด E ซึ่งก็คือตัว E หรือสายบนสุด และโน้ตต่าง ๆ ภายในคอร์ดนั้น เหมือนกันทั้งหมดเลย 
คอร์ดที่สี่ในชุดนี้ ก็จะเป็นคอร์ด Fmaj7 (อ่านว่า "เอฟเมเจอร์เซเว่นท์") เกิดจากการเพิ่มโน้ตตัวที่ 7 ของ F เข้าไป ก็คือตัว E ก็ได้โน้ตในคอร์ดคือ F, A, C, E นั่นเอง สำหรับวิธีการจับนั้นก็คล้าย ๆ คอร์ด F เฉยๆ เพียงแต่จะง่ายกว่า ก็คือนิ้ว 1 (นิ้วชี้) แทนที่จะต้องกดสายที่ 1 และสายที่ 2 พร้อมกันสองเส้นเลย ก็กดเพียงแค่สายที่ 2 เพียงเส้นเดียวเท่านั้น โอกาสที่มือใหม่จะเล่นคอร์ดนี้แล้วเสียงไม่บอด จึงง่ายกว่าการกดคอร์ด F เฉย ๆ มากเลยครับ
คอร์ดที่ห้าในชุดนี้ เป็นคอร์ดที่ทุกคนคุ้นเคยอย่างมาก ก็คือ G Dominant 7th หรือที่เรียกว่า G7 เฉย ๆ (อ่านว่า "จีเซเว่นท์" ไม่ใช่ "จีเจ็ด" นะ) เกิดจากการเพิ่มโน้ตตัวที่ 7 ของ G เข้าไป ก็คือตัว F ก็ได้โน้ตในคอร์ดคือ G, B, D, F ส่วนมากแล้วคอร์ด G Dominant 7th หรือ G7 นั้น เวลาเล่นแล้ว คอร์ดต่อไปส่วนมากจะกลับไปที่คอร์ดที่ 1 ในคีย์ ซึ่งในกรณีนี้ก็คือคอร์ด C นั่นเอง

สำหรับวิธีการจับนั้น ก็ตามไดอะแกรมด้านบนเลยครับ โดยที่เสียงรากก็คือเส้นบนสุด (G) ส่วนเสียงที่ 7 ก็คือเส้นล่างสุด ที่ใช้นิ้ว 1 ในการกด (F) ครับ
คอร์ดที่หกในชุดนี้ ก็จะเป็นคอร์ด Am7 (อ่านว่า "เอไมเนอร์เซเว่นท์") โดยเกิดจากการเพิ่มโน้ตตัวที่ 7 เข้าไป ซึ่งตามสเกล C เมเจอร์แล้ว โน้ตตัวที่ 7 ของ A ก็คือตัว G ก็ได้โน้ต A, C, E, G นั่นเอง สำหรับวิธีการจับนั้น คล้าย ๆ กับ C เมเจอร์มาก ๆ เพียงแต่ไม่ต้องใช้นิ้วที่ 3 กดสายที่ 5 (เสียง C) ดังนั้นบางครั้ง เราจะเห็นว่ามีบางทฤษฎี จะเรียกคอร์ด Am7 ว่าคอร์ด C on A หรือบางแห่งเขียนว่า C/A
คอร์ดที่เจ็ด ซึ่งเป็นคอร์ดสุดท้ายในชุดนี้ เป็นคอร์ดที่ไม่ค่อยพบบ่อย คือคอร์ด Bm7b5 (อ่านว่า "บีไมเนอร์เซเว่นท์แฟลตไฟว์") ตามรากฐานแล้ว เกิดจากการเพิ่มโน้ตตัวที่ 7 เข้าไปเหมือนคอร์ดอื่นๆ  ที่กล่าวมาทั้งหมด

ลองนับไล่ดู ก็จะพบว่าโน้ตตัวที่ 7 ของ B ก็คือตัว A ดังนั้นคอร์ดนี้จึงประกอบด้วยโน้ต B, D, F, A โดยที่ไม่มีชาร์ป ไม่มีแฟลตอะไรเลยนะครับ แต่เหตุผลของการที่คอร์ดนี้มีชื่อแบบนี้ก็คือ เราต้องทราบก่อนว่า โครงสร้างของคอร์ดไมเนอร์นั้น เสียงที่ 1 และเสียงที่ 2 จะห่างกัน 1.5 เสียง, เสียงที่ 2 และเสียงที่ 3 ห่างกัน 2 เสียง, ดังนั้นคอร์ด Bm เฉยๆ จะมีโน้ต B, D, F# ส่วนคำว่า 7th ในชื่อคอร์ด หมายถึงเราเพิ่มโน้ตตัวที่ 4 คือโน้ตเสียงที่ 7 เข้าไปในคอร์ด

จริง ๆ แล้วคอร์ดหลักในลำดับที่ 7 ของคีย์ C นั้นก็คือ Bdim แต่เมื่อเราใส่โน้ตเสียงที่ 7 เข้าไปรูปแบบที่ได้นั้น เหมือนกับคอร์ด Bm7 (B, D, F#, A) ที่ใส่แฟลตในโน้ตตัวที่ 5 เพื่อทำให้ F# เปลี่ยนกลับมากลายเป็น F จึงเรียกว่า "แฟลตไฟว์"

คอร์ด m7b5 มีอีกชื่อหนึ่งว่า "ฮาล์ฟดิมินิช" ดังนั้นเวลาเราไปอ่านเจอจากที่อื่น ก็อย่างงกันนะครับ เรื่องของทฤษฎีดนตรี ถ้าจะให้เข้าใจละเอียดลึกซึ้งจริง ๆ มันละเอียดมาก ในที่นี้ผมขอแนะนำคร่าว ๆ เพื่อให้เข้าใจง่าย ๆ ก่อนนะครับ

ความแตกต่างระหว่างคอร์ด ดิมินิช และ ฮาล์ฟดิมินิช ต่างกันในโน้ตตัวที่ 7 นั่นเอง โดยที่คอร์ดฮาล์ฟดิมินิช (m7b5) มีไมเนอร์เซเว่นท์ (m7) ก็คือคอร์ด m7 ที่โน้ตตัวที่ 5 ต้องลดลงมาครึ่งเสียง หรือแฟลตไฟว์นั่นเอง ส่งคอร์ดดิมินิชเฉย ๆ ก็มีโครงสร้างแบบนี้; เสียงที่ 1 และเสียงที่ 2 ห่างกัน 1.5 เสียง, เสียงที่ 2 และเสียงที่ 3 ห่างกัน 1.5 เสียง เท่านี้เอง


พบกันใหม่ในคราวหน้าครับ http://chord.suaythep.com


1 comment:

  1. 888casino Online for real money | DrmCD
    888casino Online for 순천 출장샵 Real Money 888casino Online for Real Money | DrmCD. 888casino Online for 평택 출장안마 Real Money. 888casino Online for Real 용인 출장안마 Money. 888casino Online for Real Money. 888casino Online for 광주광역 출장안마 Real Money. 888casino Online for Real Money. 전라남도 출장샵

    ReplyDelete